ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน  2557  ครั้งที่ 6
เวาล 8:30 - 12:30 น.



  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ " Mind map " เรื่องความลับของแสง สรุปเป็นหัวข้อหลักๆดังนี้ -ความหมาย(Meaning)  -คุณสมบัติ(Property)  -ประโยชน์(Benefit)

          อาจารย์ได้ให้คำถามเกี่ยวกับ "Constructivis"  ซึ่งหมายความว่าอย่างไร?
"Constructivis" หมายถึง การเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระทำเอง เป็นวิธีการเรียนรู้ และมีเครื่องมือ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5

          พัฒนาการ(development) คือ การแสดงความสามารถในวัยนั้น + คุณลักษณะตามวัย = ธรรมชาติของเด็ก

อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฏีของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
         

          จอห์น ดิวอี้ : กล่าวว่า  การเรียนรู้จากการกระทำ (Learning by Doing) ที่ยึดเด็กเป็นศุนย์กลาง จากการปฏิบัติจริงในทุกสถานการณ์จริง







    อาจารย์ได้แจกกระดาษและอุปกรณ์การทำให้กับนักศึกษา  ซึ่งมีรูป - ผีเสื้อ(ฺButterfly)  - รูปนก(ฺBird)
ดิฉันได้เลือกรูปผีเสื้อ และอาจารย์ก็ให้ตัดกระดาษตามรูป และให้เก็บเศษกระดาษส่วนที่เหลือไว้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ต่อไป วันนี้อาจารย์ได้ใหเทำรูปภาพที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนี้

  • กิจกรรมที่1 

 ภาพที่ 1 จะมีผีเสื้อกับดอกไม้  



ภาพที่2 เมื่อนำกระดาษมาทากาวให้ติดกัน แล้วหมุนจะทำให้ภาพมีความสัมพันธ์กัน 
จึงกลายเป็นภาพ "ผีเสื้อชมดอกไม้แสนสวย"


  • กิจกรรมที่2    อาจารย์ได้แจกสื่อที่เกี่ยวข้องกับแสงซึ่งมีลักษะคล้ายกล่องโดยนำกระดาษแก้ว สีต่างๆมาประดิษฐ์ให้เข้ากัน  เมื่อเรามองจะทำให้เกิดสี



  • บทความที่เพื่อนนำเสนอ 
1. เรื่อง "สอนลูกเรื่องพืช"               ผู้นำเสนอ  Miss  Wiranda  Khayanngan
สรุป : -ธรรมชาติรอบตัวเด็ก การเรียนรู้ัเรื่องพืชส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน 
- ด้านร่างกาย : การเคลื่อนไหวตามต้นไม้ที่โอนเอน พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  เช่น แขน ขา
- ด้านอารมณ์ : ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคล้ายจากการเคลื่อนไหว แ 
ละเด็กเกิดความสนุกสนาน
- ด้านสังคม : เด็กได้เรียนรู้เรื่องผักและการรวมกลุ่มกันกับเพื่อน
- ด้านสติปัญญา : เด็กได้ทดลอกปลูกดอกไม้ เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน  เช่น -การนับจำนวนดอกไม้ ,จำแนกสี ,สังเกตการเจริญเติบโต
    และครูจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ เรื่องพืช  ผ่านเกมการศึกษา เช่น การต่อจิ๊กซอ, โดมิโน, เกมจับคู่ ฯลฯ

2. เรื่อง "เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน"         ผู้นำเสนอ  Miss  Arunchit   Hanhao
สรุป : ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้  ครูปฐมวัยรู้จักเชื่อมโยงนิทานสู่วิทยาศาสตร์  นิทานช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้ดี  เช่น -ภาษา -รูปภาพ  นิทานเป็นสื่อที่เด็กชอบ เพราะเป็นเรื่องราวที่ผู้อื่นนำเสนอ และใกล้ตัวเด็ก 

3. เรื่อง "แนวทางสอนคิดวิทย์ให้เด็กอนุบาล"       ผู้นำเสนอ Miss  Natthida  Rattanachai 
สรุป : เนื้อหาวิทยาศาสตร์ครูไม่ต้องรู้เยอะ  การส่งเสริมให้เกิดการคิด มันสำคัญมากกว่าเนื้อหา
แนวทางการแก้ไขปัญหา  - ตั้งคำถามให้เด็ก
                                         - หาคำตอบ
                                         - นำเสนอ
                                         - หาสิ่งที่นำเสนอมาเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์


  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในอานาคตได้เป็นอย่างดี ทั้งการทำสื่อวิทยาศาสตร์ และความรู้เกี่ยวกับทฤษฏี ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปใชในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งบทความที่เพื่อนนำเสนอถึอเป็นความรู้เพื่มเติม เราสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างแน่นอนค่ะ

  • ประเมินตนเอง
          ดิฉันตั้งใจฟังและทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้  รู้สึกภูมิใจในผลงานตนเองถึงแม้อาจจะไม่สวยมาก 
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ แต่ละคนก็มีความคิดแตกต่างกันออกไป
  • ประเมินอาจารย์
          วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก เพราะมีสื่อและมีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำ  อาจารย์ดีเนื้อหาไม่มากเกินไปค่ะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น