ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557


สรุปงานวิจัย
          เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศษสตร์ของเด็กปฐมวัยที่่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

          ผู้วิจัย   ศศิพรรณ  สำแดงเดช
          มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ปี 2553

   ความมุ่งหมายของการวิจัย


     1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นนฐานทางวิทยาศาสตร์  ของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรม
การทดลองหลังการฟงนิทาน กอนและหลังการทดลอง
     2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับ
การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน กอนและหลังการทดลอง

   นิยามศัพทเฉพาะ

     - การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน   หมายถึง การที่เด็กไดฟงนิทานที่เกี่ยวของกับวทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเลาเรื่องนั้นมีสื่อตางๆ จากนั้นเด็กทํากิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตรซึ่งเนนใหเด็กไดใชประสาทสัมผสในการสังเกต การจําแนกประเภทและการสื่อสาร

    - ทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร หมายถึง ความสามารถเบื้องตนที่เปนพื้นฐาน
ทักษะทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยทได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร์โดยใช
แบบประเมินที่ผูวิจัยสรางขนึ้ 3 ดาน
  - การสังเกต
  - การจําแนก
  - การสื่อสาร


    กรอบแนวคิดการวิจัย
ตัวแปรอิสระ  : การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน
ตัวแปรตาม   :  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร
                       - ทักษะการสังเกต
                       - ทักษะการจําแนก
                       - ทักษะการสื่อสาร


ตัวอย่างแผน

แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร
เรื่อง ครึ่งวงกลมสีแดง

จุดประสงคการเรียนรู
   เมื่อเด็กไดฟงนิทานที่ครูเลาแลว สามารถตอบคําถามและทํากิจกรรมทบทวนเกี่ยวกับเรื่องการ
หาคําตอบลวงหนาการสังเกตและการสื่อความ

การดำเนินกิจกรรม
   ขั้นนํา        ครูและเด็กร่วมกนทายปริศนาคําทายอะไรเอย เกี่ยวกับรูปทรง และสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่ครูจะเลาดังนี้
 - นิทานที่ครูจะเลาวันนี้เปนเรื่องของครึ่งวงกลมสีแดงที่น้อยใจวาตัวเองไม่มีประโยชนเหมือน
เพื่อนๆ

  ขั้นเลานิทาน     ครูเลานิทานประกอบภาพจากหนังสือเมื่อถึงเนื้อหาที่เกี่ยวของกับรูปทรง
ครึ่งวงกลมครูชักชวนเด็กใหตอบคำถาม

   ขั้นสรุป     การวัดและประเมินผลการทากิจกรรมการทดลอง
 - สังเกต จากความสนใจและการมีสวนรวมในการทำการทดลอง
 - การตอบคําถามของเด็ก


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่16



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอน อ. จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 ธันวาคม 2557   กลุ่ม 103
เวาล 8.30-12.20  น. 




          วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามที่เขียนแผนการสอน  และอาจารย์ได้มอบหมายให้ทำแผนพับ หัวข้อ " สารสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน"  กลุ่มของดิฉันได้ทำเกี่ยวกับ หน่วย"'ไข่"       

     



  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำวิธีการทำแผนพับไปใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครอง การขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม ซึงแผนพับถือเป็นสารสัมพันธ์กกับผู็ปกครองเด็กได้อย่างดี และจากการทำแผนพับครั้งนี้ ทำให้ได้ทักษะในด้านการให้ความรู้ผู้ปกครอง 

  • ประเมิน (Evaluate)
         - ประเมินตนเอง
           แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม และช่วยกันคิดวางแผนการทำงาน กันเป็นอย่างดี

         - ประเมินเพื่อน
           เพื่อนๆ ตั้งใจทำงานกลุ่มที่อาจารย์ได้รับมอบหมายไว้ให้ และมีการแบ่งปันความคิดซึ่งกันและกัน


         - ประเมินอาจารย์
            อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน  เตรียมตัวอย่างการทำแผนพับมาให้นักศึกษาได้ดู  และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผนพับ 






วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่15



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณืวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 25  พฤศจิกายน  2557  กลุ่ม 103
เวลา 8:30-12:20 น.




          อาจารย์ถามเกี่ยวกับแผนการสอน ว่าเพื่อนไม่เข้าใจตรงไหนบ้าง และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ

          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอสื่อของตนเองอีกครั้ง  เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของสื่อ ดังนี้
  1. เรื่องของเสียง : เกิดการกระทบกันของวัตถุ
  2. เรื่องแรงโน้มถ่วง : ทำให้วัตถุกลายภาพมีน้ำหนัก
  3. เรื่องของอากาศ  ; อากาศอยู่รอบๆตัวเราเสมอ อากาศทำให้เกิดเสียง อากาศทำให้วัตถุบ้างอย่างตกลงพื้นดินช้า
  4. เรื่องของน้ำ ; ทำให้มีแรงดัน แรงลอยตัว น้ำเกิดการซึมเข้าไปทุกส่วนของสิ่งมีชีวิต
  5. เรื่องของแสง : ทำให้เกิดเงา


  • นำเสนอโทรทัศน์ครู
  1. เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช       Miss  Jirasaya Sattang  

         สรุป: เป็นการสอนเด็กเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการเจริญเติบโตของพืช จากนั้นให้เด็ก ทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช  ในการทดลองเด็กจะเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    2.  เรื่อง การละลายของสาร                                Miss Babjamas  Boriboon

    3.  เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย             Miss Chonticha  Pongkom

    4.  เรื่อง ภาชนะจากเส้นใยธรรมชาติ                    Miss  Tanyasiri   Juntanan

    5.  เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์     Miss Pichapa  Supaka 
     
       

  • นำเสนอวิจัย
  1. เรื่อง กระบวนการส่งเสริมแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวัสต์                   
  2. เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
  3. เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ

กิจกรรม " หวานเย็น



- อุปกรณ์ในการทำ
  1. น้ำหวาน
  2. น้ำเปล่า
  3. น้ำแข็ง
  4. เกลือเม็ด
  5. ยางรัดแกง
  6. ถุงพลาสติก
  7. กรวย
  8. ที่ตัก
  9. หม้อ
- วิธีการทำ
  1. ผสมน้ำกับน้ำหวานให้เข้ากันในปริมาณที่พอดี
  2. นำกรวยมาใส่ในถุง
  3. ตักน้ำหวานใส่ประมาณครึ่งถุง
  4. มัดถุงให้เรียนร้อย
  5. นำมาใส่ไว้ในหม้อ
  6. และนำน้ำแข็งมาเทใส่ในหม้อ 
  7. ใส่เกลือลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ
  8. ปิดฝาหม้อและหมุนไปมาจนกว่าน้ำจะแข็งตัว

ภาพกิจกรรม 


 



  • สรุป กิจกรรมหวานเย็น

                 เป็นการเปลี่ยนสถานะของแข็ง โดยการใส่เกลือผสมน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งมีอุณหภูมิลดต่ำลงหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เพราะเกลือจะไปดูดความร้อนจากน้ำแข็งเพื่อให้ตัวละลาย เมื่อน้ำแข็งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งที่จะส่งให้ถุงน้ำหวานที่เอาลงไปแช่ในหม้อที่ผสมน้ำแข็งกับเกลือเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง



  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
           จากที่ได้ทำกิจกรรมในวันนี้ ทำให้เข้าใจถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของเหลลวเป็นของแข็ง ซึ้งเราสามารถนำไปสอนเด็กได้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์  และเป็นกิจกรรมที่เราสามารถนำทำร่วมกันทั้งเด็กและครู 

  • ประเมิน ( Evaluate)

        - ประเมินตนเอง                                                                                                                                             แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดี และรู้สึกชอบกิจกรรมนี้เพราะสอนกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

        - ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันทำกิจกรรมกันเต็มที่ และเพื่อนบางคนก็ช่วยลงไปเอาน้ำแข็งเพื่อมาทำหวานเย็น
       
        - ประเมินอาจารย์
          อาจารย์เตรียมการสอนมากดีมาก  และมีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำซึ่งเป็นกิจกรรมที่บูรณาการวิทยาศาสตร์  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้เกิดทักษะ อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำที่ดีในการทำกิจกรรม 
           








บันทึกอนุทินครั้งที่14


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 19 พฤศจิกายน  2557  กลุ่ม 103
เวลา 8.30-12.20 น.



                วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงวิธีการสรุปงานวิจัยโดยการอ่านแล้วมาสรุปหัวข้อสำคัญและโทรทัศน์ครูซึ่งมีการส่งเสริมอะไรแก้ไขด้วยวิธีใดมีขั้นตอนอย่างไร
  • นิยามคือ ?
         1.การทดลอง   2.การสังเกต

  • การนำเสนอโทรทัศน์ครู
  1. นางสาว นิตยา  ใยคง   เรื่อง ของเล่นของใช้  
         สรุป:  เสริมสร้างวิทยาศาสตร์ทางอ้อม โดยครูจะสอนให้เด็กยึดกระบวนการเพื่อให้เด็กได้จดจำแล้วสังเกต


  • การนำเสนอแผนการสอน

หน่วย "สัปปะรด"



หน่วย "ดิน"





  • กิจกรรมวาฟเฟิลแสนอร่อย  
          อุปการณ์ในการทำ 
  1. เครื่องวาฟเฟิล
  2. แป้งสำเร็จรูป
  3. นมจืด
  4. ไข่ไก่
  5. เนย
  6. ชีส
  7. แปรงทาเนย
  8. ถ้วย
  9. จาน
  10. ที่ตวง
  11. ที่ตีไข่

        วิธีการทำ
  1. เทนมลงในแป้ง ในปริมาณนมครึ่งแก้วและน้ำ 1 ถ้วยเล็ก ตามด้วยไข่ไก่ 1 ฟอง และนำชีสมาใส่ตีให้เข้ากัน 
  2. ตักแป้งสำเร็จรูปที่ปรุงเสร็จแล้วใส่ถ้วยเล็กเพื่อเอาไปอบ
  3. ทาเนยที่เครื่องทำขนมวาฟเฟิลเพื่อไม่ให้ติดเตา
  4. เทแป้งลงในเครื่องทำขนม และปิดฝาไว้สักพัก จานนั้นก็พลิกกลับให้สุกทั้ง2 ด้าน 

ภาพกิจกรรม









  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          จากการทำกิจกรรมในวันนี้ถือเป็นประสบการณ์ในการสอนเด็กเรื่องการทำ (Cooking)  ซึ่งทำให้สามารถนำไปใช้ในการสอนได้เป็นอย่างดี และทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และทำให้เรารู้ว่า ควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ 

  • ประเมิน (Evaluate)
    - ประเมินตนเอง
      วันนี้รู้สึกเรียนสนุกมาก และได้ประสบการณ์จากการทำ Cooking ตั้งใจทำ และให้ความร่วมมือกับเพื่อน

   - ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำ Cooking กันมาก และช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันแหละกัน

   -ประเมินอาจารย์
      อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลองทำและปฏิบัติด้วยตนเอง


วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอน อ. จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557  กลุ่ม 103
เวลา 8:30-12:20 น.




  •               วันนี้เพื่อนๆนำเสนอการสอน ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว 


กลุ่มที่ 1
หน่วย สับปะรด 


กลุ่มที่2
หน่วย "ส้ม"

กลุ่มที่ 3 
หน่วย "ทุเรียน"


กลุ่มที่4 
หน่วย "มด"

กลุ่มที่ 5
หน่วย "ดิน"


กลุ่มที่ 6 
หน่วย"น้ำ"


สรุป  การนำเสนอการสอนตามแผนของเพื่อนๆ ทุกกลุ่มวันนี้ ยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำแล้วให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข

  •  การทำ ไข่ (Egg)  ทาโกยากิ  (TAKOYAKI)  

  -ส่วนประกอบ  ดังนี้
  1. ไข่ไก่
  2. ข้าว
  3. ซีอิ๋วขาว
  4. แครอท
  5. ต้นหอม
  6. ปูอัด
  -อุปกรณ์ในการทำ  ดังนี้
  1. เครื่องทำทาโกยากิ
  2. กระดาษซับมัน
  3. มีดและเขียง
  4. กรรไกร
  5. ช้อน,ซ้อม
  6. ถ้วยเล็ก
  -ขั้นตอนวิธีการทำ
   จัดโต๊ะเป็น 5กลุ่ม  โดยหมุนเวียนกันทำไปเรื่อยๆ  ดังนี้

โต๊ะที่ 1 
จะมีหน้าที่โดยการตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมเพื่อที่จะนำไว้รองไข่



โต๊ะที่ 2 
จะเป็นการหั่นผัก เช่น แครอท,ต้นหอม,ปูอัด โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ



โต๊ะที่ 3
ตอกไข่ใส่ถ้วยคนละ1ฟอง พร้อมกับตีไข่


โต๊ะที่ 4
นำไข่ที่ตี มาใส่เครื่องปรุง



โต๊ะที่ 5 
นำไข่ที่ตีและใส่เครื่องปรุงแล้ว  มาเทลงในเตาทาโกยากิ

ภาพที่เสร็จสมบูรณ์
ไข่ทาโกยากิ



สรุป :  การทำไข่ทาโกยากิในวันนี้ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงขั้นตอนและกระบวนการในการสอนตามแผน เช่นหน่วยไข่ ก็จะอยู่ในขั้นการสอนทำ Cooking  เหมือนกันวันนี้ั โดยแบ่งกลุ่มและให้หมุนเวียนกันทำ

  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         จากการทำกิจกรรมไข่ทาโกยากิ ในวันนี้ทำให้สามารถมองเห็นตัวอย่างแนวทางในการสอนเด็กเรื่องการทำ Cooking ได้อย่างเป็นขั้นตอนและถูกต้อง ทำให้มีทักษะและกระบวนการมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี

  • การประเมิน (Evaluate)
-ประเมินตนเอง
 วันนี้เตรียมพร้อมเรื่องของอุปกรณ์ในการทำไข่ทาโกยากิ  ตั้งใจที่จะทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่ม

-ประเมินเพื่อน
 วันนี้เพื่อนๆทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม กันเป็นอย่างดี ช่วยเหลื่อซึ่งกันและกันในกลุ่ม 

-ประเมินอาจารย์
 อาจารย์เตรียมการสอนมาได้ดีมาก ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา 















วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอน  อ. จินตนา   สุขสำราญ  
วันที่ 4 พฤษจิกายน 2557  กลุ่ม 103 
เวลา 8:30-12:20 น.



             -อาจารย์ได้อธิบายและให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการเขียนแผน
             -อาจารย์เขียนตัวอย่าง Mind map ขึ้นกระดานเพื่อให้นักศึกษาเปรียบเทียบกับแผนของตนเอง และให้จดเพิ่มเติ่มไปในส่วนที่ยังไม่ครบและไม่ถูกต้อง
             -อาจารย์บอกวิธีการสอน และให้นักศึกษาวางแผนในการสอนที่ถูกต้อง  โดยมีการจัดเรียงแผนการสอน  ดังนี้
  1. กรอบมาตรฐาน
  2. สาระที่ควรเรียนรู้
  3. แนวคิด
  4. เนื้อหา
  5. ประสบการณ์สำคัญ
  6. บูรณาการ
  7. กิจกรรมหลัก
  8. วัตถุประสงค์
  • วันนี้เพื่อนๆก็ได้เตรียมแผนการสอนแต่ละหน่วยมา เพื่อนำมาสอน
กลุ่มที่ 1

หน่วย "วัฏจักรกบ"





กลุ่มที่ 2

หน่วย "ข้าว"



กลุ่มที่ 3 
หน่วย "ไข่"



กลุ่มที่ 4 
หน่วย "กล้วย"


สรุป :  การนำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มจะมีสื่อและอุปกรณ์มาสาธิตให้เพื่อนๆได้ดู   เช่น
  • หน่วยข้าว เพื่อนๆก็ได้ทำ ชูชิ โดยสอนตามแผนที่วางไว้ มีการให้เพื่อนๆได้ออกมามีส่วนร่วมในการทำชูชิ 
  • หน่วยไข่ ก็จะมีการ ทอดไข่เจียว  โดยจะสาธิตวิธีการทำ และให้เพื่อนๆ ออกมามีส่วนร่วม
  • หน่วยกล้วย  เพื่อนๆได้ทำ กล้วยฉาบ  ก็จะมีการสาธิตให้เพื่อนได้ดู
         การออกมาสอนตามแผนวันนี้ ยังไม่ดีเท่าที่ควรเพราะเป็นการสอนครั้งแรก แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและอธิบายวิธีการสอนที่ถูกต้อง


  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  

         สามารถนำความรู้ทั้งหมดในวันนี้ไปใช้ในการสอนต่อไปในอานาคตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเขียนแผนการสอน เทคนิควิธีการสอน ทั้งหมดนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำให้มีประสบการณ์ และสามารถนำไปสอนเด็กได้ถูกต้อง

  • การประเมิน (Evaluate)  

- ประเมินตนเอง

วันนี้ต้องออกนำเสนอแผนการสอน โดยการทำ ( Cooking ) เรื่องหน่วยไข่  ได้เตรียมสื่ออุปกรณ์การสอน มาเป็นอย่างดี และช่วยเพื่อนทำหน้าที่ในการสอนการทอดไข่

-ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคน มีควาามสามัคคีกันมากในกลุ่มช่วยกันนำสื่ออุปกรณ์ มาสอน มีตั้งใจกันทุกคน และรับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์เป็นอย่างดี

-ประเมินอาจารย์
แต่งการสุภาพ  สอนการเขียนแผนได้ละเอียดและชัดเจนมาก จากที่นักศึกษาได้ออกไปนำเสนอการสอน อาจารย์ให้คำเสนอแนะ และคำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข้ ได้ดีมากค่ะ





      

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอน  อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 28 ตุลาคม  2557  กลุ่ม 103
เวลา8:30-12:20 น.




        วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมา ในเรื่องคณิตศาสตร์กับภาษา ซึ่งเป็นเครื่องมือกับวิทยาศาสตร์แนวคิดพื้นฐาน
        อาจารย์ได้ทำการทดลองต่างๆ  ดังนี้


กิจกรรมที่1                                              ทดลองเรื่อง "อากาศ"

                                                                                                                                                                      -อุปกรณ์  1. ไม้ขีดไฟ  2.เทียน  3.ถ้วย  4.แก้ว  
  -ผลการทดลอง   อากาศที่อยู่มนแก้วทำให้เทียนดับ ซึ่งจำทำให้เด็กเกิดคำถามว่าทำไมไฟถึงดับ จึงเกิดการค้นคว้าเป็นสาระ  เรื่อง สิ่งรอบตัวเด็ก


กิจกรรมที่ 2                                          ทดลองเรื่อง "คณิตศาสตร์"


      -อุปกรณ์  1. กระดาษ  2.โหลใส่น้ำ
      -ผลการทดลอง   เป็นการทดลองเรื่องของการดูดซึมจากกระดาษ



กิจกรรมที่ 3                                 การทดลองเรื่อง "การลอยการจม"


     -อุปกรณ์  1.ดินน้ำมัน  2.โหลใส่น้ำ
     -ผลการทดลอง  วัตถุที่จมน้ำบางชนิดอยู่เหนือผิวน้ำได้ สาเหตุเพราะ
                               : วัตถุที่ลอยน้ำได้มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
                               : วัตถุที่ลอยน้ำได้แสดงว่าน้ำหนักวัตถุจะกดลงสู่พื้นโลกในขนะที่น้ำจะดันวัตถุให้ลอย  ขึ้นด้วยแรงเท่ากัน



กิจกรรมที่ 4                                              การทดลองเรื่อง "น้ำ"


   
        -อุปกรณ์  1.น้ำ  2. ขวดน้ำที่เจาะรูบนฝา
        -ผลการทดลอง  ของเหลวมีการกระทำต่อวัตถุทุกทิศทาง แรงที่ของเหลวกระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เรียกว่า ความดันของเหลว  ซึ่งความดันของเหลวมีความสัมพันธ์กับความลึกของเหลว โดยที่ระดับความลึกมากความดันของเหลวก็จะมีค่ามาก



กิจกรรมที่ 5                                  การทดลอง เรื่อง"การไหลของน้ำ"


          - อุปกรณ์  1. ขวดน้ำ  2. สายยาง 3. ดินน้ำมัน 
          -ผลการทดลอง     การไหลของน้ำ จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เพราะฉะนั้นการไหลของน้ำที่เราทดลองถ้าวางในระดับเดียวกันน้ำจะไหลอยู่ในระดับเดียวกันไม่พุ่งออกมา แต่ถ้าเอาสายยางวางในระดับที่ต่ำกว่าจะทำให้น้ำพุงออกมาดีมาก




  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนในวันนี้ เรื่องของการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปในอานาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถสอนเด็กในเรื่องการทดลองต่างๆ และจะนำไปปรับใช้ให้ดีมากยิ่งขึ้น


  • หมายเหตุ 
  เนื่องจากวันนี้ดิฉันไม่สบาย จึงไม่สามารถไปเรียนได้ แต่ก็ได้ถามเพื่อนในเรื่องที่เรียนวันนี้ เพื่อนำเนื้อหามาทำ บล็อก(Blogger) ค่ะ