ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน  2557  ครั้งที่ 6
เวาล 8:30 - 12:30 น.



  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ " Mind map " เรื่องความลับของแสง สรุปเป็นหัวข้อหลักๆดังนี้ -ความหมาย(Meaning)  -คุณสมบัติ(Property)  -ประโยชน์(Benefit)

          อาจารย์ได้ให้คำถามเกี่ยวกับ "Constructivis"  ซึ่งหมายความว่าอย่างไร?
"Constructivis" หมายถึง การเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระทำเอง เป็นวิธีการเรียนรู้ และมีเครื่องมือ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5

          พัฒนาการ(development) คือ การแสดงความสามารถในวัยนั้น + คุณลักษณะตามวัย = ธรรมชาติของเด็ก

อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฏีของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
         

          จอห์น ดิวอี้ : กล่าวว่า  การเรียนรู้จากการกระทำ (Learning by Doing) ที่ยึดเด็กเป็นศุนย์กลาง จากการปฏิบัติจริงในทุกสถานการณ์จริง







    อาจารย์ได้แจกกระดาษและอุปกรณ์การทำให้กับนักศึกษา  ซึ่งมีรูป - ผีเสื้อ(ฺButterfly)  - รูปนก(ฺBird)
ดิฉันได้เลือกรูปผีเสื้อ และอาจารย์ก็ให้ตัดกระดาษตามรูป และให้เก็บเศษกระดาษส่วนที่เหลือไว้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ต่อไป วันนี้อาจารย์ได้ใหเทำรูปภาพที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนี้

  • กิจกรรมที่1 

 ภาพที่ 1 จะมีผีเสื้อกับดอกไม้  



ภาพที่2 เมื่อนำกระดาษมาทากาวให้ติดกัน แล้วหมุนจะทำให้ภาพมีความสัมพันธ์กัน 
จึงกลายเป็นภาพ "ผีเสื้อชมดอกไม้แสนสวย"


  • กิจกรรมที่2    อาจารย์ได้แจกสื่อที่เกี่ยวข้องกับแสงซึ่งมีลักษะคล้ายกล่องโดยนำกระดาษแก้ว สีต่างๆมาประดิษฐ์ให้เข้ากัน  เมื่อเรามองจะทำให้เกิดสี



  • บทความที่เพื่อนนำเสนอ 
1. เรื่อง "สอนลูกเรื่องพืช"               ผู้นำเสนอ  Miss  Wiranda  Khayanngan
สรุป : -ธรรมชาติรอบตัวเด็ก การเรียนรู้ัเรื่องพืชส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน 
- ด้านร่างกาย : การเคลื่อนไหวตามต้นไม้ที่โอนเอน พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  เช่น แขน ขา
- ด้านอารมณ์ : ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคล้ายจากการเคลื่อนไหว แ 
ละเด็กเกิดความสนุกสนาน
- ด้านสังคม : เด็กได้เรียนรู้เรื่องผักและการรวมกลุ่มกันกับเพื่อน
- ด้านสติปัญญา : เด็กได้ทดลอกปลูกดอกไม้ เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน  เช่น -การนับจำนวนดอกไม้ ,จำแนกสี ,สังเกตการเจริญเติบโต
    และครูจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ เรื่องพืช  ผ่านเกมการศึกษา เช่น การต่อจิ๊กซอ, โดมิโน, เกมจับคู่ ฯลฯ

2. เรื่อง "เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน"         ผู้นำเสนอ  Miss  Arunchit   Hanhao
สรุป : ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้  ครูปฐมวัยรู้จักเชื่อมโยงนิทานสู่วิทยาศาสตร์  นิทานช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้ดี  เช่น -ภาษา -รูปภาพ  นิทานเป็นสื่อที่เด็กชอบ เพราะเป็นเรื่องราวที่ผู้อื่นนำเสนอ และใกล้ตัวเด็ก 

3. เรื่อง "แนวทางสอนคิดวิทย์ให้เด็กอนุบาล"       ผู้นำเสนอ Miss  Natthida  Rattanachai 
สรุป : เนื้อหาวิทยาศาสตร์ครูไม่ต้องรู้เยอะ  การส่งเสริมให้เกิดการคิด มันสำคัญมากกว่าเนื้อหา
แนวทางการแก้ไขปัญหา  - ตั้งคำถามให้เด็ก
                                         - หาคำตอบ
                                         - นำเสนอ
                                         - หาสิ่งที่นำเสนอมาเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์


  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในอานาคตได้เป็นอย่างดี ทั้งการทำสื่อวิทยาศาสตร์ และความรู้เกี่ยวกับทฤษฏี ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปใชในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งบทความที่เพื่อนนำเสนอถึอเป็นความรู้เพื่มเติม เราสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างแน่นอนค่ะ

  • ประเมินตนเอง
          ดิฉันตั้งใจฟังและทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้  รู้สึกภูมิใจในผลงานตนเองถึงแม้อาจจะไม่สวยมาก 
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ แต่ละคนก็มีความคิดแตกต่างกันออกไป
  • ประเมินอาจารย์
          วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก เพราะมีสื่อและมีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำ  อาจารย์ดีเนื้อหาไม่มากเกินไปค่ะ






บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน 2557 ครั้งที่ 5 กลุ่ม103
เวลา 8:30-12:30 น.





  • การเรียนในวันนี้
          อาจารย์เริ่มเข้าบทเรียนด้วยการเปิดเพลงให้นักศึกษาฟัง แต่นักศึกษาไม่ได้ตั้งใจฟังจะคุยกันเป็นส่วนมาก  อาจเป็นเพราะขัดข้องเกี่ยวกับลำโพงที่เปิดไม่ค่อยได้ยินจึงทำให้นักศึกษาไม่ค่อยสนใจ
แต่เมื่อเพลงจบ อาจารย์พูดให้นักศึกษาฟัง ถึงคำว่า "กาลเทศะ" คือ "กาล" แปลว่า "เวลา"  ส่วน "เทศะ" แปลว่า "สถานที่"
          อาจารย์ได้พูดถึงปัญหาที่เกิดความวุ่นวายขึ้นมาเพื่อเป็นกรณีศึกษา  และได้ให้นักศึกษาตอบว่าขณะที่ฟังเพลงได้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง  นักศึกษาก็ได้ช่วยกันตอบ  ดังนี้  เกิดความวุ่นวาย,ได้ยินแต่เสียงเพื่อนคุยกัน,ฟังเพลงไม่รู้เรื่อง ค่ะ

          จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดอาจารย์ได้สรุปว่า  การที่เราจะรับรู้ได้ดีนั้น ควรมีเครื่องมือ(Tools) ในการที่จะรับรู้  นั้นก็คือ "ประสาทสำผัสทั้ง 5(The five senses)'


          บทความที่เพื่อนนำเสนอ


1. เรื่อง "สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสำคัญอยางไร?"   ผู้นำเสนอ Miss  Preeyannuch  chontap
สรุป : เด็กได้รู้ทักษะการสังเกต   ทักษะการเปรียบเทียบ   ทักษะการปฏิบัติ

2. เรื่อง "วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"  ผู้นำเสนอ  Miss Piyada  pongpan
สรุป : เด็กสามารถสังเกตธรรมบนท้องฟ้า  ดิน( Earth),หิน(Stone),อากาส(Weather),ท้องฟ้า(Sky)
และเด็กๆได้ใช้ทักษะ ดังนี้ -การสังเกต  -การจำแนก  -การเรียงลำดับ  -การวัด  -การคาดคะเน
 
   
         สรุป เรื่อง"ความลับของแสง" ดังนี้




  • การนำไปประยุกต์ใช้
          สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องที่อาจารย์สอนและบำความของๆเพื่อนๆ จากที่ได้ฟังสามารถนำไปบูรณาการในการสอนเด็กได้เป็นอย่างดี

  • ประเมินตนเอง
ตกใจที่จะฟังเพลงที่อาจารย์เปิดแต่ไม่ค่อยได้ยินจึงไม่เข้าใจความหมายของเพลง  และตั้งใจฟังพร้อมทั้งสรุปบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอค่ะ
  • ประเมินเพื่อน
เพื่อนหลายคนตั้งใจฟังอาจารย์สอนแต่ก็ยังมีเพื่อนบางส่วนที่คุยกัน  แต่โดยรวมพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนค่ะ
  • ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ยังสอนไม่ได้เต็มที่เนื่องจากติดภารกิจ  แต่ก็ให้ความรู้กับนักศึกษาในบางเรื่อง






วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน 2557  ครั้งที่ 4 กลุ่ม103
เวลา 8:30-12:30 น. 


  • การเรียนในวันนี้

   - บทความความที่เพื่อนนำเสนอ

1. เรื่อง  จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ     เป็นบทความของ "สสวท"   ผู้นำเสนอ น.ส. ดาราวรรณ กล่อมใจ
สรุป   ของเล่นที่อยู่คู่กับเด็ก กิจกรรมนนักทดลอสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ เด็กๆ เป็นนักทดลอง ที่ค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ เพื่อสืบเสาะหาความรู้ โดยให้เด็กๆ หาความรู้รอบๆตัว

2.  เรื่อง  ทำอย่างไร? ให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์     ผู้นำเสนอ น.ส. พาทินธิดา  เฉลิมบุญ
สรุป   - ให้่อ่านหนังสือการ์ตูน  : ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่มีรูปภาพ เด็กเกิดความสนใจจะทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้นและอยากที่จะเรียนรู้
          - ให้ทำการทดลองอย่างง่ายๆ
          - พาเด็กๆเข้าพิพิธภัณฑ์

3.  เรื่อง  วิทย์ - คณิต สำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไร?        ผู้นำเสนอ น.ส. จิราวรรณ  จันทรหนองหว้า

4.  เรื่อง  เมื่อลูกน้องเรียนรู้วิทย์ - คณิต ผ่านดนตรี        ผู้นำเสนอ  น.ส. อุมาพร   ปกติ

5.  เรื่อง การจัดการเรียนรู้ประสบการณ์วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย ผู้นำเสนอ น.ส. จารุนันท์ จันขัน
สรุป  -ช่วยให้เด็กรู้ทักษะทั้ง 4 ด้าน  เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านต่างๆ


  - ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
  
ความหมายของวิทยาศาสตร์   หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้

แนวคิดพื้นฐาน   1. การเปลี่ยนแปลง  2. ความแตกต่าง 3. การปรับตัว 4.การพึ่งพาอาศัยกัน 5.ความสมดุล

                  ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนในวันนี้สามารถนำมาสรุป mind map ได้ดังนี้




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 กันยายน 2557 ครั้งที่ 3  กลุ่ม 103
เวลา 8:30 - 12:30 น.




    
  • การเรียนในวันนี้

 - บทความที่เพื่อนนำเสนอ

    1. เรื่อง วิทยาศาสตร์และการทดลอง      ผู้นำเสนอ น.ส. กมลวรรณ  นาควิเชียน
สรุป มี 7 ทักษะกระบวนการ ดังนี้ 
 -การสังเกต -การจำแนก -การวัด -การสื่อความหมาย -การลงความเห็นจากข้อมูล -หาความสำคัญจาก "sbace" 

    2. เรื่อง ภาระกิจตามหาใบไม้               ผู้นำเสนอ น.ส. ศิรดา  ศักบุตร
สรุป กิจกรรมนี้จะเน้นการใช้ภาษา ระหว่างครูกับเด็ก โดยให้เด็กๆเข้าไปหาใบไม้ และนำใบไม้มาพิมพ์ภาพติดกับกระดาษ หรือระบายสีทับ และเด็กๆยังได้รู้เกี่ยวกับรูปร่างของรูปทรงต่างๆ ของใบไม้
  
    3. เรื่อง เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ
ผู้นำเสนอ     น.ส. ศิริพร พัดลม 

    4. เรื่อง การแยกประเภทเมล็ดพืช          ผู้น้ำเสนอ น.ส. ศิริวรรณ  กรุดเนียม
สรุุป  เด็กจะได้รู้เกี่ยวกับ การแยกรูปร่าง,สี ,เม็ดถั่วเขียว,ข้าวเปลือก ฯลฯ

    5. เรื่อง เจ้าลูกโป่ง                          ผู้นำเสนอ  น.ส. ขวัญฤทัย  ใยสุข


 - คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 
 - ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-5ปี )
 - หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
 - นักการศึกษา/หลักการแนวคิด

4 หัวข้อหลักที่ได้เรียนทั้งหมดในวันนี้ นำมาสรุป mind map ได้ดังนี้
   

  




  •   การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     จากการเรียนเนื้อหาทั้งหมดในวันนี้สามารถเป็นความรู้ที่ติดตัวเราไป และจะเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดได้ในอนาคต ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องตามวัย
     


วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2


บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญวันที่ 26 สิงหาคม 25587 ครั้งที่ 2 กลุ่ม 103 เวลาเรียน 8:30 - 12:20 น.




  • การเรียนในวันนี้
         อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก  โดยมีรูปเด็กๆร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ดังนี้

         -
การตอกไข่       : เด็กได้สัมผัส การได้กลิ่น ฝึกการสังเกตุ การทดลอง
         - ประสาทสัมผัส  : ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายประสาทสัมผัส จมูกสูทดม
         - การเล่นในมุม    : เด็กจะได้ทักษะต่างๆของแต่ละมุม
         - การปลูกพืช       : พืชบางชนิดต้องดารน้ำและพืชบางชนิดไม่ต้องการน้ำ เป็นการฝึกประสบการณ์ให้แก่เด็ก



         *เด็กปฐมวัย & การรียนรู้วิทยาศาสตร์  ด้วยคำถามที่ว่า....

   วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ?

- ไม่จริง เพราะ วิทยาศาสตร์มีอยู่รอบตัวเด็ก พร้อมทั้งเปิดโอกาศให้เด็กอยากรู้อยากลอง และสนุกในการทำกิจกรรม

   ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
- ไม่ยาก แต่อย่าเอาการคำนวณเข้ามาเยอะ ให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์เรื่องนั้นๆ

   ควรให้เด็ก อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
- ควรให้เด็กได้ลองทำด้วยตัวเอง



       *วิทยาศาสตร์

- คือความพยายยามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว และตัวตนของตนเอง
- ความพยายาม เช่นนี้ ติดตัวของมนุษย์ตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเข้าเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าทีผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
- การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเข้าเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็กดดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากในวัยที่สูงขึ้น

ทำไม? ต้องเรียนรู้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม : เพื่อเอาตัวรอดให้อยู่บนโลกได้ "เรียนรู้ ปรับตัว ปรับพฤติกรรม" 


      *ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก

   ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
        - ผู้ใหญ่เปิดโอกาสการเรียนรู้กับเด็ก

   ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
        - ผู้ใหญ่ให้ความสนใจการค้นพบของเด็ก เข้าใจธรรมชาติ

ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่่างเหมาะสม
       - จัด เพราะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมต่อยอดทักษะได้ถูกอย่างต้อง



      *ทบทวนบทบาท

      - เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
      - ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
      - จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
      - ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้


    
  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       เนื้อหาที่ได้เรียนทั้หมดในวันนี้ สามารถนำไปใช้ตอนฝึกสอนได้เป็นอย่างดีในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งวิทยาศาสตร์์มีความสำคัญกับเด็กเป็นอย่างมาก เมื่อได้เรียนรู้เนื้อหาในวันนี้เรานำไปปฏิบัติจริงกับเด็กดีเลยทีเดียว    


  • ความรู้เพิ่มเติม

        - วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
        - วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ต่างๆ
        - เด็กปฐมวัย/ทำไมต้องให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ; สิ่งที่ใกล้ตัว เด็กสนใจ
        - วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กอยากรู้อยากลองจึงทำให้เด็กเกิดความสนุก
        










วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่19 สิงหาคม 2557 ครั้งที่1 กลุ่ม 103
เวลาเรียน 8:30 - 12.20 น.



  • การเรียนในวันนี้
           วันนี้เป็นการเปิดเรียนวันแรกของภาคเรียนที่1 อาจารย์ได้แจกแนวการสอน( Course Syllabus ) และอธิบายการเรียนการสอนของวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พร้อมทั้งบอกข้อตกลงในชั้นเรียน ดังนี้

         - แต่งกายเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ แต่งตัวไปในทางเดียวกัน
         - ไม่เข้าห้องเรียนสาย
         - พูดจาไพเราะ สุภาพอ่อนหวาน


  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          การเข้าเรียนในวันนี้ ยังไม่ได้เรียนเนื้อหาแต่อาจารย์ได้ชี้แนวการสอนและเรื่องที่เราจะต้องเรียน จึงทำให้เราสามารถไปค้นคว้าหาข้อมูลไว้ล่วงหน้าได้พอเวลาที่เราเรียนเราสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้ในเรื่องนั้นๆ 


  • ความรู้เพิ้มเติม
          มคอ. มาตรฐานการศสึุกษาระดับอุดมศึกษา