ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 21 ตุลาคม 2557   กลุ่ม 103 
เวลา 8:30-12:20  น. 





       - เพื่อนๆออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
       - อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะพูดเรื่องแผนการสอน  และอาจารย์ได้อธิบายขั้นตอนการเขียนแผนต่างๆ  ดังนี้
  1. วัตถุประสงค์
  2. สาระที่ควรเรียนรู้
  3. เนื้อหา
  4. แนวคิด
  5. ประสบการณ์สำคัญ
  6. กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
  7. บูรณาการทักษะรายวิชา
  8. แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม
  9. แผนของแต่ละวัน

  • แผนการสอนของกลุ่มดิฉัน ได้เรื่อง หน่วย"ไข่ Egg"  ซึ่งสามารถแบ่งการเขียนแผนเป็น 5 วันดังนี้
  1. ชนิด (Type)
  2. ลักษณะ (Characteristics)
  3. การเก็บรักษา (Storage)
  4. ประโยชน์ (Benefits)
  5. ส่วนประกอบ (Components)


"Mind mapping" 






  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         ความรู้ที่ได้ทั้งหมดในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ในเรื่องของการเขียนแผนการสอน ทำให้เรามีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถเขียนแผนการสอนได้ถูกต้องสมบูรณ์ เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย

  • การประเมิน (Evaluate)
- ประเมินตนเอง
  
วันนี้ตั้งใจเรียนและมีความพร้อมในการเรียน อาจง่วงบ้างนิดหน่อย แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์ และวันนี้กลุ่มดิฉันได้เตรียมแผนการสอนมา

-ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟัง อาจจะคุยกันบ้างบางครั้ง ให้ความร่วมมือในการคิดแผนการสอนเป็นกลุ่ม

-ประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับแผนการสอน ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และให้ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม 






วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกนนุทินครั้งที่ 9




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 14 ตุลาคม 2557  กลุ่ม103
เวลา 8:30-12:20 น.








  • การนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์

สื่อของตนเอง

"โมบายหมุนติ๋ว"



 



  • อุปกรณ์ (Tool)
  1. แกนทิชชู
  2. กระดาษสีแข็ง
  3. เชือกสี
  4. ไหมพรม
  5. กรรไกร
  6. กาว
  7. มีดคัตเตอร์

  • วิธีทำ ( Step)
  1. นำแกนทิชชูมาตัดเป็นสองท่อน
  2. ตัดกระดาษสีแข็งเป็นรูปวงกลมเพื่อนำมาปิดรูทั้ง2ด้าน
  3. เจาะรูด้านใดด้านหนึ่งเพื่อนให้แกนทิชชูสามารถหมุดได้
  4. ตกแต่งแกนทิชชูให้สวยงามได้ตามจินตนาการ
  • วิธีการเล่น
         เด็กสามารถที่จะเล่นได้ด้วยตนเอง จะเล่นโดยการการแกว่ง หรือ หมุน  ก็ได้ ตามความคิดและจินตนาการของเด็กๆ 
  • "โมบายหมุนติ๋ว" กับการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย?
        เด็กจะได้รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของวัตถุเมื่อเกิดลม ทำให้เด็กรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอากาศ และได้รู้เกี่ยวกับทิศทางของลม 

        แรง (force) เป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนทิศทาง เกิดการเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่งได้ แรงสามารถเปลี่ยนความเร็วของวัตถุได้ หรือกล่าวได้ว่าแรงทำให้วัตถุเกิดความเร่ง


สื่อที่ชื่นชอบ


                                      "ลูกโป่งลอยได้"                                               "ตุ๊กตาโยกเยก"

"โทรศัพท์จากแก้ว"

     "ผึ้งน้อยลอยน้ำ"                                                                                               "ป๋องแป๋ง"
















  • อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องแผนการสอน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำกลับมาแก้ไข้เรียบร้อยแล้ว ดังต่อไปนี้ค่ะ

หน่วย "ไข่"



  • การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         จากการที่ได้ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีเทคนิคในการสอนเด็กเรื่องวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องสอนเด็กผ่านบนเรียน แต่ใช้สื่อเป็นตัวกลางในการสอนแทน ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี 


  • ประเมินตนเอง
        การเรียนในวันนี้มีความตั้งใจและมีความพร้อม ในการนำเสนอสื่อ ของตนเอง
  • ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจ และพร้อมที่จะออกมานำเสนอสื่อหน้าชั้น อาจจะมีเพื่อนบางคนที่ยังไม่พร้อม สัปดาห์หน้าจึงมีการนำเสนอสื่ออีกครั้ง
  • ประเมินอาจารย์   
        วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม ในการนำเสนอสื่อของนักศึกษาทุกคน 










บันทึกอนุทินครั้งที่ 8



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 7 ตุลาคม 2557  กลุ่ม103
เวลา 8:30-12:20 น.









  • วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงของการสอบกลางภาค  ระหว่างวันที่ 6-12 ตุลาคม 2557 



วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่7



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน  2557  ครั้งที่ 7
เวลา 8:30-12:30 น.








      
                 วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรม ให้นักศึกษาได้ทำ 2 กิจกรรม  ดังนี้

  • กิจกรรม กังหันกระดาษ


ภาพกิจกรรม




      - ตัดกระดาษให้เป็นรูปใบพัด และให้เพื่อนๆแต่ละแถวออกมาสาธิตการโยนใบพัด โดยให้เพื่อนๆ ในห้องสังเกต ลักษณะการโยนของเพื่อน
      - กิจกรรมใบพัด เมื่อเด็กได้ทำสามารถต่อยอดความคิดสร้างสรรค์  เช่น การวาดภาพ, ระบายสี

อาจารย์ได้พูดถึงนักทฤษฏี  ที่ให้เด็กลงมือกระทำ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ แต่สามารถเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ได้  ดังนี้


  • อากาศ (Weather) คือ  เกิดจาการเคลื่อนไหว
  • ลม    (Wind)    คือ  อากาศที่เคลื่อนที่ และมากระทบกับอากาศทำให้รู้สึกเย็น
  • การพิสูจน์อากาศ   คือ การนำลูกโป่งมาเป่า หรือถุงต่างๆมาเป่าก็จะเกิดการพองโต จึงทำให้อากาศมีพื้นที่ในนั้น



  • กิจกรรม จากแกนทิชชู


ภาพกิจกรรม


       - ขั้นตอนในการทำ

  1. ตัดแกนทิชชูครึ่งตรงกลาง
  2. เจาะรู2รู ที่แกนทิชชู
  3. สอดเชือก ทั้ง2รู้ แล้วมัด เพื่อให้สามารถดึงได้
  4. นำกระดาษมาวาดรูปภาพอะไรก็ได้ตามที่เราชอบ
  5. แล้วนำรูภาพที่วาดมาติดกับแกนทิชชูที่ทำไว้




  • บทความที่เพื่อนนำเสนอ
1. เรื่อง "สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์"  ผู้นำเสนอ Miss Jiraporn Noulchom  (ดิฉันเอง)

สรุป   พ่อแม่สามารถนำรูปแบบ "5 Es Model" ไปใช้ฝึกสอนให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์  ดังนี้
  - ขั้นที่1 Engage (การมีส่วนร่วม)  เมื่อลูกสงสัย หรือพ่อแม่อยากให้ลูกเรียนรู็เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรตรวจสอบความรู้ จากแหล่งต่างๆ หลังจากนั้นให้กระตุ้นความสนใจของลูก  ก่อนที่จะจัดกิจกรรมให้ลูกเรียนรู้โดยดึงดูดความสนใจ เพื่อให้ลูกสนใจที่จะเรียนรู้
  -ขั้นที่2 Explore (สำรวจ)  ให้ลูกเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง โดยค้นคว้าข้อมูลเรื่องที่อยากรู้
  -ขั้นที่3 Explain (อธิบาย)  ให้ลูกลองวิเคราะห์ สำรวจตรวจสอบความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น
  -ขั้นที่4 Elaborate (รายละเอียด) ให้โอกาสลูกได้เชื่อมโยงและขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนรู้
  -ขั้นที่5 Evaluate   (ประเมิน)  พูดคุยกับลูก ให้ลูกสะท้อนความคิดและความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้นออกมา


2. เรื่อง "สนุกสนานเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องไก่และเป็ด "  ผู้นำเสนอ Miss  Chanida  Bunnako

สรุป  การเรียนรู้จากนิทานมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนแรก คือ ขั้นนำ เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ
ขั้นที่สอง   คือ  ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น
ขั้นที่สาม   คือ  ขั้นสรุป เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน


3. เรื่อง "เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์"   ผู้นำเสนอ  Miss Anna  Chawsuan

สรุป  วิทยาศาสตร์ จากแง่มุมต่างๆ ได้องค์ประกอบทั้ง 7 ประการ คือ

  1. การคาดหมาย (Expectation) หมายถึง วัตถุประสงค์กว้างๆ เป็นแนวความคิดหรือการสร้างภาพกว้างๆ
  2. สิ่งล่อใจ (Enticement)  หมายถึง กิจกรรมที่จะสามารถชักชวนให้เด็กๆ สนใจ จะเรียนรู้
  3. การเข้าร่วมกิจกรรม (Engagement)  หมายถึง ช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียน
  4. การอธิบาย (Explanation) 
  5. การค้นหา (Exploration) หมายถึง จะช่วยผลักดันให้นักเรียนพิจารณาความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่
  6. การขยายความ (Extension) หมายถึง เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ ของตนมาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆ
  7. หลักฐาน (Evidence) หมายถึง  เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสะท้อนความรู้



4. เรื่อง "วิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่"   ผู้นำเสนอ  Miss Suangkamol  Sutawee

5. เรื่อง"ส่งเสริมกระบวนการคิกสำหรับเด็ก"   ผู้นำเสนอ  Miss Natchalita  Suwanmanee



  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  จากที่ได้ทำกิจกรรมในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อสามารถนำไปสอนเด็กได้ในอานาคต


  • ประเมินตนเอง
         วันนี้ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมตามอาจารย์ อย่างเต็มที่ ชิ้นงานที่ประดิษฐ์ออกมาน่าภูมิใจ

  • ประเมินเพื่อน 
         เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำกินกรรมอย่างเต็มที่ และออกไปสาธิตหน้าชั้นเรียนกันทุกคน

  • ประเมินอาจารย์
         อาจารย์สอนดีมาก มีทั้งเนื้อหา และกิจกรรม ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษา ทำให้น่าเรียนมากยิ่งขึ้นค่ะ